top of page

เป็นมิตรกับความเครียด (Stress Less)

Updated: Dec 21, 2022

เคยรู้ไหมว่าความเครียดช่วยปรับสมดุลในร่างกายของเราได้


ความเครียด แค่ได้ยินก็อยากจะเดินหนีกันแล้วใช่ไหม


ความเครียดมักถูกมองว่าเป็นตัวปัญหา สร้างผลเสียต่อสุขภาพทางร่างกายและจิตใจ


บางคนเครียดจนบ้านหมุน หูดับ ไมเกรน


บางคนเครียดเรื้อรัง ทำให้รบกวนการใช้ชีวิต เช่น ตื่นกลางดึก นอนไม่หลับ ไม่อยากตื่น หูอื้อ


บางคนมีปัญหาความสัมพันธ์จากการที่ React เร็ว


“ความเครียดไม่ใช่ตัวปัญหา ความเครียดเป็นเรื่องธรรมชาติ ร่างกายของทุกคนเกิดความเครียด

แต่ปัญหาสำคัญ คือวิธีในการรับมือกับความเครียดด้วย mindset ที่มองความเครียดเป็นตัวร้าย และอยากกำจัดความเครียดทิ้งไปด้วยวิธีการที่ฝืนธรรมชาติของร่างกาย”


อยากชวนมองความเครียดว่าเป็นภาษาที่ร่างกายใช้สื่อสารกับตัวเรา


ความเครียดช่วยส่งสัญญาณบอกให้ตัวเราปรับจูนวิธีคิด พฤติกรรมในการใช้ชีวิตให้สมดุล


จากประสบการณ์ทำ Workshop มาหลายปี จุดที่ค้นพบคือ “คนมักละเลยสัญญาณของความตึงเครียดที่เกิดขึ้นในร่างกาย”


ความเครียดเป็นวิธีสื่อสารของร่างกายกับตัวเรา ผ่านการไหลเวียนของสัญญาณไฟฟ้าและเคมีในระบบประสาทอัตโนมัติ หากตัวเรามีทักษะในการจับสัญญาณและเข้าใจภาษาของระบบประสาทอัตโนมัติที่สื่อสารกับร่างกาย จะช่วยให้การรับมือกับความเครียดในชีวิตแตกต่างไปจากเดิม


แล้ว "ระบบประสาทอัตโนมัติ" คืออะไรกัน


ในร่างกายมีระบบประสาทที่ตัวเราควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ ระบบประสาทอัตโนมัติอยู่ในส่วนที่ตัวเราควบคุมไม่ได้ ระบบประสาทอัตโนมัติเป็นเหมือนคนที่ชักใยอยู่เบื้องหลังของระบบหลอดเลือดและอวัยวะภายในร่างกาย เช่น การที่ใจสั่นหวิว โหวงๆที่ท้อง จุกที่คอ ปากแห้ง สมองขาวโพลนว่างเปล่า ตัวเกร็ง เข่าอ่อน ฯลฯ ล้วนเป็นผลมาจากการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติขณะที่ร่างกายเผชิญความเครียด


Sensing ของแต่ละคนแตกต่างกัน ทำให้ประสบการณ์ทางร่างกายในการรับรู้ถึงอารมณ์ความรู้สึกต่างๆของแต่ละคนไม่เท่ากัน เกิดประสบการณ์ทางความรู้สึกในร่างกายที่แตกต่างกันไป


ในการทำ workshop “เป็นมิตรกับความเครียด” เราจะเรียนรู้ทักษะการใช้ร่างกายเพื่อเป็นเครื่องมือในการรับมือกับความเครียดตามศักยภาพที่ร่างกายมีอยู่แล้ว เพียงมาปรับจูนความแม่นยำในการรับรู้ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในร่างกาย (Body Sensation) จัดระเบียบความคิด ให้สามารถรับรู้ได้แม่นยำ เวลาต้องการหยิบใช้ก็หาเจอและนำมาใช้ได้ง่าย


ร่างกายเป็นสิ่งมหัศจรรย์ ร่างกายมีศักยภาพในการรับมือกับความเครียด เพียงมาเรียนรู้กระบวนการการไหลเวียนของ “Body Sensation” ในร่างกาย


การรับมือกับความตึงเครียด (Stress Resilience) ก็จะกลายเป็นทักษะใหม่ที่เกิดขึ้นจากการฝึกฝนได้ (Resilience Skills)


สาโรช จรรยาแพทย์




14 views0 comments

Recent Posts

See All

คิดด้วยร่างกาย

การรับมือความเครียดในโลกปัจจุบันที่ผันผวนสูง ส่งผลให้สมองแบกรับภาระเกินกำลัง สมองเองมีข้อจำกัด ทั้งทางกายภาพและจิตใจ เช่น...

Comments


bottom of page