ที่ชวนคิดแบบนี้ เพราะทุกวันนี้ไม่ว่าจะเป็นคนเจนไหน
ทุกเจนก็ต้องเผชิญความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงในโลกที่ผันผวน
คนทุกเจนต้องปรับตัวให้อยู่ใน Ecosystem ใหม่ เพียงแต่ปรับจูนได้เร็วช้าแตกต่างกัน
แล้วแนวคิดเรื่องเจนเนอเรชั่นเกิดขึ้นมาได้อย่างไร
ย้อนกลับไปในปี ค.ศ. 1928 Karl Mannheim นักสังคมศาสตร์ ได้เร่ิมนำเสนอแนวคิดนี้ รวมทั้งนักประวัติศาสตร์ในแต่ละยุคก็มีการใช้คำเรียกคนที่เกิดมาในแต่ละยุค ตามเหตุการณ์สำคัญของสังคมที่คนแต่ละเจนได้เติบโตขึ้นมา เช่น Silent Generation > Baby Boomer > Gen X > Gen Y > Gen Z
ช่วงปี 2004-2006 แนวคิดเรื่องเจนเนอเรชั่นเริ่มมีการนำมาประยุกต์ใช้ในงาน HR
มีการพูดถึงคาแรกเตอร์ ทัศนคติ แนวคิด ความต้องการ และแรงจูงใจของคนแต่ละเจนที่แตกต่างกัน
เกิดแนวคิดการบริหารช่องว่างระหว่างเจน (generation gap) ผ่านการปรับแผนกลยุทธ์ในงาน HR เพื่อให้บริหารคนหลายเจนให้ทำงานร่วมกันได้
ถ้าคีย์ “เทคนิคการบริหารคนต่างเจน” ใน google จะพบผลการค้นหากว่า 7 ล้านครั้ง
แนวคิดเรื่องเจนเป็นเพียงยอดของภูเขาน้ำแข็ง เพราะ “คน ก็คือ คน” ล้วนมีความรู้สึกนึกคิดที่แตกต่างกัน แม้เป็นคนในเจนเดียวกัน
เมื่อเผชิญเหตุการณ์เดียวกัน แต่ละคนก็ตอบสนองผ่านพฤติกรรมและทัศนคติที่ต่างกันไป แม้จะเป็นคนที่อยู่ในเจนเดียวกัน
คนเจนเดียวกัน นิสัยยังไม่เหมือนกันเลย คนเป็นผู้นำจึงต้องคอยช่วยให้คนในทีมที่มีคนหลายเจนทำงานร่วมกัน สามารถก้าวข้ามผ่าน generation gap ไปให้ได้
การทำความเข้าใจ personal backgroud ไปจนถึงพฤติกรรมและทัศนคติส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน จะช่วยผู้นำให้สามารถบริหารคนต่างเจนสู่ความร่วมมือในการทำงาน
ปัจจุบันความสุขในการทำงานของคนแต่ละเจนแถบไม่ต่างกัน เพียงแต่ในอดีตคนเจน Baby Boomer - Gen X อาจอยู่ในช่วงเวลาที่ความสุขอยู่ในขอบเขตที่จำกัด เมื่อเทียบกับโลกในยุคที่คน Gen Y เติบโตขึ้นมา
โดยลึกๆ แล้ว เนื้อแท้ของคนทุกเจนต้องการขอบเขตของความสุขในการทำงานที่แทบจะไม่ต่างกัน
ปัจจุบันคนเจน X จำนวนไม่น้อย ก็ไม่ได้ให้ความสำคัญเฉพาะความมั่นคงปลอดภัย หรือ ความสมดุลในชีวิตเท่านั้น
คนทุกเจนล้วนต้องการได้รับการมองเห็นคุณค่า ได้โอกาสแสดงความสามารถ ได้รับการยอมรับ ได้รับความเข้าใจ ได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรม ต้องการเติบโต ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของทีมที่ทำงานด้วยแล้วมีพลัง สนุกกับงานที่ทำ และสามารถบริหารชีวิตให้สมดุล
เมื่อเป็นผู้นำทีม อย่าปล่อยให้ generation gap กลายเป็นข้ออ้างในการหยุดอัพเกรด soft skills ของตัวเอง
เมื่อรีโฟกัสปัญหาที่เห็นไปสู่มุมมองใหม่ เกิดวิธีคิดที่ยืดหยุ่น อาจช่วยค้นพบแนวทางใหม่ๆ ที่ช่วยคลี่คลายปัญหาในการบริหารคนต่างเจนได้ตรงจุด
การให้คุณค่าในสิ่งที่ต่างไปจากที่ตัวคุณเองให้ความสำคัญ (human diversity) จะช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ และนำไปสู่การทำงานเป็นทีม
แล้วพบกันใน Ep.2 โจทย์ของคนแต่ละเจนคืออะไร?
References
Malinvisa Sakdiyakorn & Walanchalee Wattanacharoensil (2017). Generational Diversity in the Workplace: A Systematic Review in the Hospitality Context. Cornell Hospitality Quarterly, volume 59, issue 2, pages: 135-159.
Parry, E., & Urwin, P. (2021). Generational categories: A broken basis for human resource management research and practice. Human Resource Management Journal, 31(4), 857–869. https:// doi.org/10.1111/1748-8583.12353
สถิติประชากร สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง
Comments