top of page

ย่อยอารมณ์ได้ง่าย แค่ใช้ประสาทสัมผัสให้เป็น

Updated: Jul 22, 2023



ขุ่นเคือง หงุดหงิด อึดอัด รำคาญ โมโห คับข้องใจ เกรี้ยวกราด

ขอเรียกความรู้สึกเหล่านี้ รวมเป็นคำว่า “โกรธ” 😡


ไม่ว่าความโกรธของคุณจะเกิดขึ้นในระดับไหน


ลองสำรวจหาความรู้สึกที่เกิดขึ้นในร่างกาย แล้วคุณจะประหลาดใจในการค้นพบ เช่น คุณอาจพบว่า ร่างกายของคุณกำลัง…. กลั้นหายใจ กัดกราม เกร็งคอบ่าไหล่ แน่นอก จุกที่คอ หน้าร้อน จิกเท้า ใจเต้นแรง …


บางคนรู้สึกละอายใจที่โกรธ รู้สึกเป็นบาปที่โกรธ


บางคนเชื่อว่า “ความโกรธเป็นสิ่งไม่ดี” หรือ “ความโกรธต้องใหญ่เบอร์นี้…ถึงจะนับว่าโกรธ”


บางคนกลัวว่า “ถ้าปล่อยให้โกรธ ตัวเองจะระเบิดอารมณ์ออกไปรุนแรง”


บางความเชื่อต่ออารมณ์ยิ่งทำให้ขัดขวางการฟีลอารมณ์


ร่างกายต้องแบกรับภาระทางอารมณ์ที่เกิดขึ้น เกิดเป็นความปวดตึงกล้ามเนื้อคอบ่าไหล่… เกิดเป็นความขับข้องใจ อับอาย ขัดแย้งในใจ กลายเป็นความเครียดสะสม จากการไม่รู้สึกโกรธหรือไม่สามารถแสดงความโกรธออกมาได้


บางคนใช้การกดอารมณ์ หรือ เบี่ยงเบนจากอารมณ์ (Emotional avoidance) ในการบริหารจัดการอารมณ์ เกิดอารมณ์ตกค้างอยู่ภายในร่างกาย


ทำให้การย่อยอารมณ์ติดขัด (Emotional overprocessing)


การย่อยอารมณ์ ก็เหมือนการย่อยอาหารในทางเดินอาหาร ถ้าทานอาหารเข้าไปแล้วไม่ย่อย จากสารอาหารที่จะดูดซึมไปเป็นหล่อเลี้ยงร่างกายก็จะกลายเป็นสารพิษแทน


อารมณ์ก็เช่นเดียวกัน ถ้าสามารถย่อยสลายอารมณ์ได้ตามศักยภาพของร่างกาย อารมณ์ก็จะกลายเป็นพลังชีวิตไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย


เพราะร่างกายสามารถรีไซเคิลอารมณ์หนักๆ ให้แปรเปลี่ยนเป็นพลังชีวิตได้


พอเกิด Emotional overprocessing บ่อยๆ จนกลายเป็นนิสัยเคยชิน ทำให้ประสาทสัมผัส (Sensing) ในการฟีลอารมณ์ของร่างกายไม่ได้ใช้งาน เหมือนเกิดสนิมเกาะ เวลามีเหตุการณ์ที่กระตุ้นอารมณ์ ก็จะเกิด “อารมณ์ท่วมท้น หรือ ไม่รู้สึกอะไร” ทำให้ร่างกายแบกรับความเครียดสะสมโดยไม่รู้ตัว


แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าอารมณ์กำลังเกิดขึ้นในร่างกาย?


เมื่อมีอารมณ์เกิดขึ้น คนจำนวนไม่น้อยมักข้ามผ่านไปโดยไม่ทันรู้ตัว


ให้ลองฝึกสังเกตตัวเองดู บางครั้งน้ำเสียงเปลี่ยนกระทันหันขณะคุยกับใครบางคน บางคนอาจกลั้นหายใจ บางคนกัดกราม บางคนหัวเราะออกมาขณะที่อีกคนกำลังโมโห


ช่วงที่อารมณ์เกิดขึ้นในร่างกาย ถ้าไม่สามารถฟีลอารมณ์เหล่านั้นได้ แต่ละคนจะดึงเอากลยุทธ์หลักที่ใช้ในการรับมือกับอารมณ์ที่ไม่ได้ย่อยเหล่านี้ตามความคุ้นชินโดยอัตโนมัติ เช่น ใช้การบ่น กล่าวโทษ บางคนใช้การพูดจาประชดประชัน บางคนรู้สึกตัวชา รู้สึกเฉยๆ ไม่รู้สึกอะไร บางคนทำตัวยุ่ง บางคนตัดสิน-กดดันตัวเอง รู้สึกไม่ดีพอ


ใครที่อ่านมาถึงตรงนี้ ลองสำรวจความเชื่อต่ออารมณ์ของตัวเองดูก่อน มีความเชื่อไหนบ้างที่อาจจะไปขัดขวางการฟีลอารมณ์



“ทุกอารมณ์ความรู้สึกเป็นธรรมชาติของมนุษย์ แค่ปล่อยให้ตัวเองได้รู้สึก อนุญาตให้ทุกอารมณ์ความรู้สึกได้ไหลเวียนอย่างอิสระในร่างกาย”


ประสาทสัมผัสทั้ง 5 (รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส) จะช่วยให้คุณปรับจูนอารมณ์ได้ ช่วยให้คุณย่อยก้อนอารมณ์หนักๆ เป็นอารมณ์ก้อนเล็กๆ ที่ย่อยสลายกลายเป็นพลังงานได้ง่ายขึ้น


เริ่มทำความรู้จักร่างกายตัวเองว่าประสาทสัมผัสไหนที่ช่วยให้อารมณ์คลายตัวและช่วยปรับอารมณ์ให้ร่างกายได้บ้าง?


ยิ่งร่างกายของเราผ่อนคลาย การรับรู้อารมณ์ก็จะชัดเจนมากขึ้น


ให้เวลาร่างกายได้ฟีลอารมณ์ที่ติดค้างกันบ้างนะครับ


#ย่อยอารมณ์ให้ใจเบา


ขอบคุณ cat on a paper ที่ช่วยวาดภาพประกอบบทความ

82 views0 comments

Recent Posts

See All

คิดด้วยร่างกาย

การรับมือความเครียดในโลกปัจจุบันที่ผันผวนสูง ส่งผลให้สมองแบกรับภาระเกินกำลัง สมองเองมีข้อจำกัด ทั้งทางกายภาพและจิตใจ เช่น...

Comments


bottom of page