Ep.3 คนเป็นผู้นำจะผสานความต่างกันได้อย่างไร (ตอนที่ 1/3)
ขอชวนกลับมาที่วิธีคิด
ว่าจะมีวิธีคิดแบบไหนบ้างสำหรับคนเป็นผู้นำ
ที่จะทำให้เกิด ecosystem สำหรับคนทุกเจน เพื่อให้พนักงานและองค์กรเติบโตไปด้วยกันได้ ผ่านยุคสมัยที่โลกมีความผันผวนและโครงสร้างสังคมอันซับซ้อน
คงหนีไม่พ้นที่จะพูดถึงบทบาทของผู้นำ ในการทำความเข้าใจความหลากหลายของคน และการให้ความสำคัญในการพัฒนา soft skills ของตนเองและทีม
แต่อีกด้านที่สำคัญคือ
ผู้นำมีเป้าหมายที่ชัดเจนไหม ที่ต้องการพัฒนา ecosystem ให้เกิดขึ้นในองค์กร เพื่อผสานความต่างกันของคน ให้แต่ละคนสามารถทำงานได้เต็มศักยภาพ รู้คุณค่าของตนเอง และมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่แข็งแรง
ใน Ep.1 และ 2 ได้ชวนให้ลองคิดถึง คนต่างเจนเป็นเพียงภาพจำที่หลายคนเคยได้ยินมา
Rethink
คนต่างเจน ที่เกิดเป็น generation gap ในการทำงานเป็นเพียงยอดของภูเขาน้ำแข็งที่โผล่พ้นน้ำขึ้นมาให้ได้มองเห็น
ภายใต้ผิวน้ำ เมื่อดำลึกลงไปสำรวจในจิตใจของความเป็นมนุษย์ เนื้อแท้ของคนทุกเจนมีความต้องการพื้นฐานที่ใกล้เคียงกัน เพียงแต่...คนแต่ละเจนเติบโตมาภายใต้บริบทของสังคม เศรษฐกิจที่มีความเป็นไปแตกต่างกัน
คน ก็คือ คน ล้วนมีความรู้สึกนึกคิดที่ต่างกัน แม้อยู่ในเหตุการณ์เดียวกัน แต่เนื้อแท้ทุกคนก็ต้องการความสุขในการทำงานด้วยขอบเขตที่ใกล้เคียงกัน
อย่าปล่อยให้ generation gap กลายเป็นเหตุผลในการหยุดอัพเกรด soft skills ของตัวเอง
คนมีความหลากหลายและจิตใจอันซับซ้อน และมีแนวโน้มขาดความตระหนักรู้ในตนเองบางแง่มุม ทำให้เกิดความท้าทายในการบริหารคนของผู้นำ
ภาพรวมของการพัฒนาวัฒนธรรม DEI (Diversity, Equality & Inclusion)ให้เกิดขึ้น
องค์กร ผู้นำ และพนักงานสามารถทำอะไรร่วมกันได้บ้าง?
ขอแบ่งออกเป็น 4 ประเด็น คือ
1. การทำความเข้าใจแต่ละคนในทีม (individual understanding) ถึง คุณค่า กรอบความคิด แรงผลักดันภายใน
2. การสื่อสารด้วยความสอดคล้องของหัวกายใจ (authentic leadership communication) เพื่อสร้างบรรยากาศการทำงานที่ทำให้รู้สึกปลอดภัยและวางใจกัน
3. การสลับบทบาทในการเป็นพี่เลี้ยงและผสมผสานคนต่างเจนในทีมงาน (multigenerational working team and 2-way mentoring)
4. การปรับนโยบายและโครงสร้างองค์กร (adjust oranization structure) โดยแต่ละองค์กรก็จะมีเส้นทางที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันและประวัติความเป็นมาขององค์กร ว่ามีอะไรที่ยังส่งผลกระทบถึงปัจจุบันหรือไม่
บทความนี้ขอโฟกัส 3 ประเด็นแรก คือ ส่วนที่เป็น soft skills ของผู้นำ เพราะผู้นำที่ให้ความสำคัญในการพัฒนา soft skills จะเป็นรากฐานสำคัญของการส่งเสริมวัฒนธรรม "การให้คุณค่าความหลากหลาย เพื่อให้พนักงานและองค์กรได้เติบโตไปด้วยกัน" ทำให้พนักงานที่ได้ร่วมงานด้วยรู้สึกปลอดภัย รู้สึกเชื่อใจในตัวผู้นำ (trust & safety)
1. การทำความเข้าใจแต่ละคนในทีม (individual understanding)
ความสัมพันธ์เป็นพื้นฐานสำคัญในการทำงานร่วมกัน แต่ละคนมีประสบการณ์ชีวิตที่แตกกัน หลายครั้งที่ทำเวิร์คช็อปให้องค์กรต่างๆ คนที่ทำงานร่วมกันมาเป็น 10 ปี ยังไม่เคยรู้จักตัวตนภายในของกันและกันมาก่อน
แต่ละคนมีวิธีตีความสิ่งต่างๆ ในแบบของตัวเอง ให้ความสำคัญกับคุณค่า (personal core value) ที่แตกต่างกัน
เมื่อคนเป็นผู้นำสามารถสังเกตว่าลูกน้องแต่ละคนเลือกยึดถือคุณค่าไหนไว้เป็นพิเศษ ก็จะสามารถปรับจูนเข้าหากัน เข้าใจถึงที่มาของพฤติกรรมและสไตล์การสื่อสารของแต่ละคน
การเปิดใจยอมรับและเคารพคุณค่าภายในของแต่ละคน จะช่วยพัฒนาความสัมพันธ์และสร้างความรู้สึกปลอดภัยในการทำงานร่วมกัน ช่วยให้คนกล้าบอกเล่าสิ่งที่เก็บอยู่ในใจ และทำให้แต่ละคนพร้อมปล่อยพลังในการทำงาน
ผู้นำที่ส่งเสริมการพัฒนาทักษะความตระหนักรู้ในตนเอง รู้จักชวนคิดชวนคุยด้วยความนุ่มนวล จะช่วยให้คนในทีมเร่ิมสนุกกับการค้นพบตัวเองในแง่มุมใหม่ๆ ที่ไม่เคยรู้จัก
เมื่อแต่ละคนรู้ว่าอะไรเป็นแก่นแท้สำคัญที่ผลักดันให้เกิดพฤติกรรมของตนเอง ก็จะเกิดทีมที่มีคุณภาพของความตระหนักรู้ร่วมกัน
เกิดบรรยากาศการทำงานที่รู้สึกปลอดภัยและมีพลัง
ทุกคนทำงานได้เต็มศักยภาพ แต่ละคนตระหนักรู้ในจุดบอดของตนเอง
ท้ายสุดที่อยากชวนคิดคือ คนเป็นผู้นำจะทำอะไรได้บ้าง เพื่อให้ value ขององค์กร ทีม และพนักงาน สอดคล้องเกื้อหนุนไปด้วยกัน
ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาติดตามอ่านบทความของเรานะครับ
แล้วพบกันใน Ep.3 คนเป็นผู้นำจะผสานความต่างกันได้อย่างไร (ตอนที่ 2/3)
References
Jennifer Jordan & Michael Sorell (2019). Why Reverse Mentoring Works and How to Do It Right. Harvard Business Review, Leadership & Managing People (October 03, 2019)
Understanding Workplace Values. https://www.mindtools.com/ayjltrz/understanding-workplace-values
Grieser. Randy, Stutzman. Eric, Loewen. Wendy, Labun. Michael. (2019). The Culture Question: How to Create a Workplace Where People Like to Work . ACHIEVE Publishing.
Comments