top of page

เรื่องยากที่คนเป็นผู้นำจะยอมรับเงามืดของตัวเอง

‘เงามืด’ เป็นเหมือนด้านที่คนเราสัมผัสรู้ได้ยาก หรือถึงรู้…ก็ไม่ได้ใส่ใจ

หรือแม้กระทั่งถูกอัตตาและความเครียดสะสมเข้าครอบงำ



บางครั้งคนเป็นผู้นำก็มองข้ามเงามืดในตัวเอง จากสาเหตุหลายประการ

------

เงามืดของผู้นำนี้ เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลต่อความรู้สึกปลอดภัยทางจิตใจในที่ทำงาน

------

ถ้าถามลูกน้องว่า

“คุณรู้สึกปลอดภัยในที่ทำงานหรือไม่ เมื่ออยู่กับหัวหน้า?”

ถ้าคุณเป็นหัวหน้าคน ขอชวนลองนึกถึงคำตอบที่อาจจะได้รับจากลูกน้องในทีมว่าจะได้ยินคำตอบอะไรได้บ้าง

------

แม้ความรู้สึกปลอดภัยจะมองไม่เห็น

ทว่ามันมีอยู่ และส่งผลต่อบรรยากาศในการทำงาน

ความรู้สึกปลอดภัย เป็นความรู้สึกที่อยู่ข้างในแต่ละบุคคล และเป็นความรู้สึกที่ผันแปรไปตามสิ่งเร้าของแต่ละคน โดยเฉพาะการตีความต่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่สมองเคยรับรู้ว่าไม่ปลอดภัย เช่น

  •  ถูกทำให้อับอาย

  •  รู้สึกโดนดูถูก ถูกมองข้าม ไม่เป็นที่ยอมรับ

  •  รู้สึกถูกล้ำเส้น

  •  รู้สึกหวาดหวั่นกับความไม่แน่นอนในอนาคต

  •  รู้สึกว่าถูกเลือกปฎิบัติ


สัญชาตญาณการเอาตัวรอดที่ฝังแน่นในสมองเป็นแรงผลักดันที่มีอิทธิพลต่อการตีความเหตุการณ์ที่เผชิญ ว่า “รู้สึกปลอดภัย หรือ รู้สึกว่าถูกคุกคาม”


สมองที่ถูกครอบงำด้วยความกลัวจึงมีรูปแบบพฤติกรรมในระดับแค่เอาตัวรอด ทำให้ศักยภาพถูกกดทับ เกิดการทำงานในโหมดเพลย์เซฟ ความคิดที่เป็นเหตุเป็นผลถูกปัดทิ้งไปเวลาเกิดความขัดแย้ง กลายเป็นกำแพงกั้นขวางความร่วมมือ


มักเกิดการประเมินเหตุการณ์ปัจจุบันด้วยความรู้สึกในอดีต ทำให้คนรู้สึกรุนแรงเกินจริงหรือเกิดภาวะด้านชาทางความรู้สึก กลายเป็นความเครียดสะสมโดยไม่ทันรู้ตัว


------


แล้วถ้าจะสร้างพื้นที่ปลอดภัยในการทำงาน จะเริ่มต้นจากตรงไหน?


ลองเริ่มจากการสร้างพื้นที่แห่งความตระหนักรู้ในตนเอง ด้วยแนวทางดังนี้


อันดับแรกคือ ลองสำรวจดูว่า ’เรากำลังรู้สึกปลอดภัยอยู่หรือเปล่า‘ เพราะถ้าภายในตัวเรากำลังรู้สึกตึงเครียด เราก็ไม่อาจสร้างความรู้สึกปลอดภัยให้เกิดขึ้นในทีมได้


รู้ทันความคิด การตัดสินจากมุมมองของเรา ที่มักตัดสินว่า อะไรถูก-ผิด หรือเผลอด้อยค่าในสิ่งที่ตัวเราไม่ได้ให้ความสำคัญ เพื่อสร้างความเคารพต่อกัน และยอมรับในความแตกต่าง


สังเกตปัจจัยที่กระตุ้นให้คนรู้สึกถูกคุกคาม หรือ รู้สึกได้รับรางวัล ทั้งส่วนที่กระตุ้นตัวเราและกระตุ้นคนที่เราทำงานด้วย เพราะทุกปฏิสัมพันธ์ส่งผลต่อคนในทีม


 ฝึกทักษะการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย เริ่มต้นด้วยความสัมพันธ์ที่ดี เจตนาที่ดีต่อกัน รับฟังด้วยใจที่เป็นกลาง


 ฝึกรับมือกับความกลัวด้วยพลังงานบวก สร้างประสบการณ์ให้สมองและร่างกายคุ้นชินกับการเข้าถึงพลังงานความรัก หัวใจที่เมตตากรุณาจะช่วยโอบอุ้มให้ตอบสนองต่ออุปสรรคด้วย mindset และใจที่เปิดกว้าง สนุกกับความท้าทาย กล้ายอมรับกับด้านที่อ่อนไหวของตนเอง


เมื่อพลังงานภายในของเรารู้สึกมั่นคง ทีมก็รับรู้ได้ถึงพลังงานบวกที่แผ่ออกมาจากคนเป็นผู้นำ


อีกทั้งผู้นำที่กำลังอยู่ในกระบวนการทบทวนเงามืดของตนเอง ก็จะเกิดพลังของความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เพราะรู้ดีว่า “กว่าจะปรับเปลี่ยนตัวเองได้แต่ละก้าว ต้องผ่านการฝึกฝนการยอมรับข้อเสียและให้ความอ่อนโยนกับตัวเอง และต้องเผชิญกับความยากลำบากในการปล่อยวางอัตตาของตัวเอง”



3 views0 comments

Recent Posts

See All

คิดด้วยร่างกาย

การรับมือความเครียดในโลกปัจจุบันที่ผันผวนสูง ส่งผลให้สมองแบกรับภาระเกินกำลัง สมองเองมีข้อจำกัด ทั้งทางกายภาพและจิตใจ เช่น...

Comments


bottom of page